ศัพท์ในการนับจำนวน และวัด ชั่งน้ำหนักในภาษาเหนือ
เวลาที่เราถามคนขาย ว่าของชิ้นนี้ขายยังไง ถ้าเป็นปลาหรือเนื้อ คนขายก็จะตอบว่า "เม็ดละ 100 เจ้า" ซึ่งความหมายก็คือ "ขีดละ 100 บาทนั่นเอง" ศัพท์เหล่านี้ยังพบเจอบ่อยๆ ตามพื้นที่นอกเมือง ซึ่งคนสมัยเก่าๆ จะยังพูดภาษาเหนือแท้ๆ ไม่มีภาษาอื่นมาปนกัน ซึ่งมีจำนวนมากเลยทีเดียว เอาหล่ะ คราวนี้เราลองมาดูกันเลยดีกว่า ว่าศัพท์ในการนับจำนวนต่างๆในภาษาเหนือนั้่น มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
การนับเลขเป็นภาษาเหนือ
1 = นึ่ง
2 = สอง
3 = สาม
4 = สี่
5 = ห้า
6 = ฮก
7 = เจ๋ด
8 = แปด
9 = เก้า
10 = ซิบ
11 = ซิบเอ๋ด
20 = ซาว
21 = ซาวเอ๋ด
20 กว่าๆ = ซาวป๋าย
ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับการตวง การวัด ในภาษาเหนือ
เต๊ะ = วัดขนาด , วัดความสูง ความยาว
เม็ด = ขีด ( 10 ขีด = 1 กิโลกรัม )
ก๋ำ = กำมือ
ปุ๊ก = พวง
เก๊า = ต้น
จับปอดี = พอดีเป๊ะ
กีด = แคบ
เถี่ยน = เล่ม (ใช้นับจำนวนมีด จอบ เสียม พร้า)
ตั๋ว = ตัว
ก๋อง = กอง
ต๋าง = ถัง
ก๊อกกิโล = กระป๋องตวง 1 กิโลกรัม
เตื้อ = ครั้ง
กำ = ที
ด้วยในยุคปัจจุบัน นับวันภาษาคำเมืองยิ่งจะถูกลบเลือนไปกับกาลเวลา เพราะว่าคนรุ่นใหม่นั้นมักจะพูดภาษาไทยกันหมด และไม่แน่ว่าอีกไม่กี่สิบปี ถ้าคนรุ่นต่อไปไม่พูดภาษาคำเมืองกันแล้ว วัฒนธรรมที่งดงามตรงนี้ จะต้องเลือนหายไปแน่นอน เพื่อเป็นการรักษาเอาไว้ ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของภาคเหนือ แอดมินก็หวังเป็นอย่างยิ่งครับ ว่าบทความเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์กับเพือนๆ ไม่มากก็น้อยครับผม