การนับจำนวน และหน่วยการนับ การวัด การชั่ง การตวง เป็นภาษาเหนือ

ศัพท์ในการนับจำนวน และวัด ชั่งน้ำหนักในภาษาเหนือ


     บางครั้ง  การนับจำนวนต่างๆ เป็นภาษาเหนือนั้น  มักจะได้ยินเค้าใช้ภาษาเหนือกัน  เพราะว่าสะดวกในการใช้งาน  และความคุ้นเคยนั่นเอง  ทำให้เรามักจะได้ยินประโยคที่เกี่ยวกับการนับจำนวนบ่อยๆ ตามตลาด  หรือร้านค้าต่างๆนั่นเอง

     เวลาที่เราถามคนขาย ว่าของชิ้นนี้ขายยังไง  ถ้าเป็นปลาหรือเนื้อ คนขายก็จะตอบว่า "เม็ดละ 100 เจ้า" ซึ่งความหมายก็คือ "ขีดละ 100 บาทนั่นเอง" ศัพท์เหล่านี้ยังพบเจอบ่อยๆ ตามพื้นที่นอกเมือง ซึ่งคนสมัยเก่าๆ จะยังพูดภาษาเหนือแท้ๆ ไม่มีภาษาอื่นมาปนกัน  ซึ่งมีจำนวนมากเลยทีเดียว  เอาหล่ะ  คราวนี้เราลองมาดูกันเลยดีกว่า  ว่าศัพท์ในการนับจำนวนต่างๆในภาษาเหนือนั้่น มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย


การนับเลขเป็นภาษาเหนือ


1 = นึ่ง
2 = สอง
3 = สาม
4 = สี่
5 = ห้า
6 = ฮก
7 = เจ๋ด
8 = แปด
9 = เก้า
10 = ซิบ
11 = ซิบเอ๋ด
20 = ซาว
21 = ซาวเอ๋ด
20 กว่าๆ = ซาวป๋าย


ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับการตวง การวัด ในภาษาเหนือ


เต๊ะ  =  วัดขนาด , วัดความสูง ความยาว
เม็ด  =  ขีด ( 10 ขีด  =  1 กิโลกรัม )
ก๋ำ  =  กำมือ
ปุ๊ก  =  พวง
เก๊า  =  ต้น
จับปอดี  =  พอดีเป๊ะ
กีด  =  แคบ
เถี่ยน  =  เล่ม (ใช้นับจำนวนมีด จอบ เสียม พร้า)
ตั๋ว  =  ตัว
ก๋อง  =  กอง
ต๋าง  =  ถัง
ก๊อกกิโล  =  กระป๋องตวง 1 กิโลกรัม
เตื้อ   =  ครั้ง
กำ  =  ที


     ด้วยในยุคปัจจุบัน  นับวันภาษาคำเมืองยิ่งจะถูกลบเลือนไปกับกาลเวลา  เพราะว่าคนรุ่นใหม่นั้นมักจะพูดภาษาไทยกันหมด  และไม่แน่ว่าอีกไม่กี่สิบปี ถ้าคนรุ่นต่อไปไม่พูดภาษาคำเมืองกันแล้ว  วัฒนธรรมที่งดงามตรงนี้  จะต้องเลือนหายไปแน่นอน  เพื่อเป็นการรักษาเอาไว้ ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของภาคเหนือ แอดมินก็หวังเป็นอย่างยิ่งครับ ว่าบทความเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์กับเพือนๆ ไม่มากก็น้อยครับผม

คำอุทานภาษาคำเมือง พร้อมคำแปล

คำอุทานภาษาล้านนา

     ทุกๆคนบนโลกใบนี้  ไม่ว่าคุณหรือผม  เมื่อเราตกใจ  หรือมีอะไรมาโดนใจอย่างแรง  เรามักจะพูดคำพูดบางอย่างออกมา  ซึ่งบางทีมันออกมาโดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ  อาการเหล่านี้เราเรียกว่าการอุทานออกมาครับ  โดยคำพูดที่เราโพล่งออกมานั้น  เราเรียกว่าคำอุทานนั่นเอง

     คำอุทานนั้นมีหลายแบบ หลายชนิด หลายคำ  แยกกันไปตามสถานการณืที่เราอุทานออกมา  แน่นอนว่าคำอุทานในภาษาเหนือนั้น  ก็ย่อมไม่เหมือนกับภาษาอื่นๆทั่วไป  บางคำเราฟังไม่ออกด้วยซ้ำ  ว่านี่คือคำอุทาน  เพราะมันเป็นเหมือนคำที่ไม่มีความหมายเอาซะเลย   เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องของเพื่อนๆ  เราจึงได้หยิบยกเอาตัวอย่างบางส่วนของคำอุทานภาษาเหนือมาให้เพื่อนๆได้ทำความเข้าใจกัน  ความรู้ดีๆแบบนี้  เพื่อนๆอย่าพลาดชมกันนะครับ




ตัวอย่างคำอุทานเป็นภาษาเหนือ ภาษาคำเมือง


1.   โป๊ดโท ทำโม สังโค
ความหมาย  :  พุทโธ ธัมโม สังโค



2.   เอ่อ  นั่นเต๊อะ
ความหมาย  :  ให้ตายสิ , บ้าไปแล้ว



3.   เอ๋อ..เอ๊ย..
ความหมาย  :  เป็นคำอุทานเวลาพลาด หรือสูญเสียไป



4.   อ๋อ..อ๊อย
ความหมาย  :  เป็นคำอุทานเมื่อเกิดความสงสาร



5.   ป๊าดโซ๊ะ
ความหมาย  :  อั๊ยหยา



6.   อั่นหล๊า
ความหมาย  :  เป็นคำอุทานเมื่อเกิดความเจ็บปวด เช่น เดินเอาแข้งไปชนขอบบันได เป็นต้น



7.   โค๊ะ
ความหมาย  :  เป็นคำอุทาน ความหมายประมาณเดียวกับคำว่า โห !!



8.   แอ่นแล่ะ
ความหมาย  :  เป็นคำแซว  ใช้ตอนที่คนอื่นแสดงความสามารถอันยอดเยี่ยมออกมา



9.   ฮานิบ่าเฮ่ย
ความหมาย  :  ปั๊ดโธ่เอ้ย !



10.   อะหยังปะล้ำป่ะเหลือ
ความหมาย  :  อะไรกันนักกันหนา



11.   เอ้อว
ความหมาย  :  เป็นคำอุทานเมื่อเราไม่ค่อยพอใจ  ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า เฮ่ย !



12.   โป๊ด...โซ๊ะ
ความหมาย  :  ความหมายใกล้เคียงกับคำว่าอั๊ยหยา  แต่มักใช้กับเหตุการณ์ที่มีความยิ่งใหญ่มากกว่า

คำขยายความในภาษาเหนือ ภาษาคำเมือง

คำขยายความในภาษาเหนือ  สิ่งล้ำค่าที่ควรอนุรักษ์

         ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดๆก็ตามในโลกใบนี้  การที่เราจะพูด หรือสื่อสารกันนั้นย่อมมีคำพูดที่หลากหลาย  และยิ่งนับวัน  คนเราก็ยิ่งประดิษฐ์คำใหม่ๆขึ้นมามากมาย  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย  ที่คำพูดที่เราใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้น  จะเพิ่มคำเข้าไปอีกเพื่อขยายความหมาย  ให้ตรงกับความรู้สึกมากขึ้น  เราเรียกคำเหล่านั้นว่า  "คำขยายความ"

         และในบทความนี้  เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับคำขยายความของภาษาคำเมืองที่มีอยู่หลากหลายคำมากเลยทีเดียว  ทั้งขยายความจัดจ้านของสีสัน  รสชาติที่จัดจ้านของอาหาร  ความรุนแรงของสภาพแวดล้อมรอบๆตัว   เป็นต้น
     ซึ่งบรรพบุรุษของเรา  เค้าได้ประดิษฐ์คำเหล่านี้ขึ้นมาตั้งแต่อดีตแล้ว  ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าทางวัฒนธรรมที่น่ารักษาเอาไว้เป็นอย่างมาก  ผมจึงได้เรียบเรียงมาให้เพื่อนๆคนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและช่วยกันอนุรักษ์ภาษาเหนืออันงดงามเอาไว้ครับ



คำขยายความในภาษาเหนือ 25 ตัวอย่าง  พร้อมคำแปล


1.ฝุ่นมุ้งมุ้ง  =   ฝุ่นคละคลุ้ง



2.ปวดโซ๊ะโซ๊ะ  =   ปวดตุบตุบ



3.แหลวแฝ้ะแหลวแฟ่น  =   แหลกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย



4.แจ้งซ่างล่าง  =   สว่างไสว



5.บางแต๊บแย๊บ  =   บางแบนมากๆ



6.ซื่อแซ๊ด  =   ตรงเปรี๊ยะ



7.มนอุ๊มลุ๊ม  =   กลมมากๆ



8.ต่ำแอ๊ะแต๊ะ  =   เตี้ยนิดเดียว



9.ยาวจ๊าดลาด  =   ยาวเฟื้อย



10.เหม็นตึ๊งตึ๊ง  =   เหม็นคละคลุ้ง



11.สั้นกิ้มดิ้ม  =   สั้นนิดเดียว



12.ต่ำป๊อกล๊อก  =   เตี้ยม่อต้อ



13.สูงเกิ้งเดิ้ง  =   สูงชะลูด



14.ผอมแก้งแด้ง  =   ผมแห้ง , ผอมโซ



15.งามพี้ลี่  =   สวยสดใส



16.ง่อมจอยวอย  =   เงียบเหงา



17.อ้าก๊าบงาบ  =   อ้ากว้าง



18.เก่าโค๊ะโละ  =   เก่ามอมแมม



19.ก๊ดโล้งโง้ง  =   ไม่ตรง , โค้งงอ



20.ปุ๊สุ่นบุ่น  =   ฟูขึ้นมา , ฟูฟ่อง



21.เหงี่ยงล้างง้าง  =   เอียงกะเท่เล่



22.เย็นจิ้วจิ้ว  =   เย็นเฉียบ



23.เค่งติ้งติ้ง  =   เกร็ง , เขม็ง , รัดตึง



24.หมั้นถึ้ง  =   หนักแน่น , มั่นคง



25.ขำก๊ะงะ  =   คาอยู่อย่างนั้น

การเรียกชื่ออาชีพต่างๆเป็นภาษาเหนือ ภาษาคำเมือง

ชื่ออาชีพต่างๆเป็นภาษาเหนือ

         ในการเรียกชื่อการอาชีพหรือการทำมาหากินในแบบต่างๆนั้น  บางอาชีพก็มีภาษาพูดที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของภาษาเหนือ  ในบทนี้เราจะมาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียกชื่ออาชีพต่างๆเป็นภาษาเหนือ  พร้อมกับคำแปลมาให้แล้ว  เพื่อให้เพื่อนๆได้ศึกษาและเข้าใจอย่างง่ายดายนั่นเอง

 ในบทความนี้เราก็ได้รวบรวมเอาชื่อตัวอย่างอาชีพบางส่วน  ที่มักได้พบเจอในพื้นที่ดินแดนล้านนา  มาให้ได้ดูกัน 20 ตัวอย่าง  ซึ่งเป็นอาชีพที่ใกล้ตัวเราทุกคนมากๆ เลยทีเดียว  ถ้าอย่างนั้นเพื่อนๆก็ลองอ่านและพูดตามไปกันเลยนะครับ  








ตัวอย่างชื่ออาชีพต่างๆในภาษาเหนือ


1.ป้อก๊า  =   พ่อค้า


2.แม่ก๊า  =   แม่ค้า


3.ตะหาน  =   ทหาร


4.อาจ๋าน  =   อาจารย์


5.สาวโฮงงาน  =   สาวโรงงาน


6.ยะก๋านก่อสร้าง  =   ทำงานก่อสร้าง


7.ป้อหลวง  =   ผู้ใหญ่บ้าน


8.ก๋ำนัน  =   กำนัน


9.ป้อก๊างัว  =   พ่อค้าวัว , นายฮ้อย


10.ปู่จ๋าน  =   มัคทายก


11.สล่าแป๋งบ้าน  =   ช่างสร้างบ้าน


12.สล่าปู๋น  =   ช่างปูน


13.ป้อก๊าของเก่า  =   คนรับซื้อของเก่า


14.ขะโยม  =   เด็กวัด


15.จ้างฟ้อน  =   คนฟ้อนรำ


16.จ้างซอ  =   นักขับซอ (ซอ คือ การขับกลอนที่ประพันธ์สดๆ ประกอบดนตรีของภาคเหนือ)


17.สล่า  =   ช่าง


18.แม่ก๊าขนมเส้น  =   คนขายขนมจีน


19.จาวนา  =   ชาวนา


20.ต๋ำหนวด  =   ตำรวจ

มาศึกษาภาษาเหนือที่เป็นประโยคสั้นๆกันเถอะ

    ประโยคสั้นๆที่มักจะได้ยินกันบ่อย       


     ในการพูดสื่อสารกันเป็นภาษาเหนือ หรือภาษาคำเมืองนั้น  เรามักจะได้ยินคำพูดเหล่านี้  รวมอยู่ในประโยคของบทสนธนาเสมอ  บางคำก็เป็นคำอุทาน  บางคำก็เป็นคำวิเศษณ์  บางคำก็เป็นคำกริยา  ซึ่งในบทนี้เราก็ได้รวบรวมเอามาไว้ให้เพื่อนๆศึกษากันบางส่วนนะครับ  ซึ่งหากใครได้มาเรียน  หรือมาเที่ยวที่ภาคเหนือตอนบน  จะต้องได้ยินคำเหล่านี้แน่นอน

     บางคำที่เพื่อนๆอาจจะได้ยินมานั้น  อาจจะสงสัยว่าทำไมเค้าพูดอยู่คนเดียวได้  นั่นเป็นเพราะเค้าพูดประโยคลอยๆยังไงหล่ะ  แบบว่าใครจะได้ยินก็ได้ ไม่ได้ยินก็ได้  ขอแค่ให้ได้พูดระบายออกมาก็พอ  จากบทความหลายๆบทที่ผ่านมา เพื่อนๆคงจะได้เรียนรู้กันมาส่วนหนึ่งบ้างแล้ว  งั้นบทนี้ก็คงไม่ยากครับ ลองอ่านกันดูนะ แล้วก็แอบฝึกสำเนียงด้วยก็ได้  ไว้เดี๋ยววันหน้า  ผมจะทำเป็นไฟล์เสียงมาให้เพื่อนๆได้ฟังกันด้วยนะครับ




ตัวอย่างประโยคภาษาเหนือสั้นๆ


1.หยังมาเสียงดังขนาด   =   ทำไมเสียงดังจังเลย



2.กั๋วแต๊ กั๋วว่า   =   กลัวมากๆ



3.อดไค่หัวบ่าได้   =   อดขำไม่ได้



4.อะหยังป่ะล้ำป่ะเหลือ   =   อะไรกันนักกันหนา



5.ขอยขนาด   =   อิจฉามากๆ



6.จุ๊กั๋นแต๊ จุ๊กั๋นว่า   =   หลอกกันได้ หลอกกันดี



7.ซะป๊ะ ซะเป๊ด   =   เยอะแยะมากมาย



8.กึ๊ดเติงหาขนาด   =   คิดถึงมากๆ



9.ยะหยังอยู่   =   ทำอะไรอยู่



10.หยังมาง่อมแต๊ง่อมว่า   =   ทำไมถึงได้เหงาอย่างนี้



11.เกิบขบตี๋น   =   โดนรองเท้ากัด



12.ขอแหมน้อยเต๊อะ   =   ขออีกหน่อยนะ



13.หยังมาแปงขนาด   =   ทำไมถึงแพงจังเลย



14.บ่าเด่วยะก๋านตางได   =   เดี๋ยวนี้ทำงานที่ไหน



15.ปี๋นี้ปูกข้าวก่ำนักก่อ   =   ปีนี้ปลูกข้าวเหนียวดำเยอะมั๊ย



16.ลมบ่าดีบ่าเฮ้ย   =   อารมณ์ไม่ดีอ่ะ



17.ฟั่งแต๊ ฟั่งว่า   =   รีบร้อนไปไหน



18.จะไปฟั่งว่าเตื้อ   =   อย่าเพิ่งด่วนสรุปไป



19.จะไปยะหยังหยั่งอั้น   =   ทำไมถึงทำอย่างนั้นหล่ะ



20.ต้าวอุ๊บ ต้าวอั๊บ   =   ล้มลุกคลุกคลาน

การพูดชมเชยเป็นภาษาเหนือ

ในบทนี้ เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับคำชมภาษาเหนือกันครับ


     การที่เราจะชมใครๆเป็นภาษาเหนือนั้น  หากเพื่อนๆอยากจะรู้ว่าคำชมต่างๆนั้นมีอะไรบ้าง  เชิญเพื่อนๆเข้ามาศึกษากันได้แล้วในบทนี้ครับ  เราจะสอนเกี่ยวกับการพูดชมคนอื่นในโอกาสต่างๆครับ  เพื่อนๆสามารถอ่านและศึกษา  เพื่อเอาไปใช้งานจริงๆได้เลยนะครับ  เพราะเราได้แปลความหมายไว้ให้พร้อมแล้ว  ถ้าตั้งใจศึกษาจริงๆจะไม่ยากเลยครับ

     ก็ลองคิดดูว่าเวลาเร้าจะชมใครนั้น  เราจะพูดว่าอย่างไร ภาษาเหนือก็เช่นกันครับ  ตัวอย่างเช่น ลูกเค้าสอบได้ที่หนึ่ง  หรือใครหน้าตาดี  เหล่านี้เราก็สามารถชมได้ทั้งนั้นแหล่ะครับ  เอาเป็นว่าให้เพื่อนๆลองอ่านดูเลยนะครับ แต่ถ้ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจ  เพื่อนๆสามารถที่จะสอบถามมาได้ตามช่องติดต่อเราด้านบนได้เลยนะครับ  เราพร้อมที่จะตอบทุกๆคำถามคาใจครับผม





มาดูตัวอย่างคำชมเป็นภาษาเหนือกันเลยครับ


1.งามแต๊งามว่า  =  สวยมากมาย



2.ลำขนาด  =  อร่อยมาก 



3.หน้าหมดต๋าใส  =  หน้าตาใสหมดใจ



4.เฮียนเก่งขนาด  =  เรียนเก่งมาก



5.เก่งแต๊เก่งว่า  =  เก่งสุดๆ



6.หมั่นแต๊หมั่นว่า  =  ขยันจังเลย



7.หมั่นขนาด  =  ขยันมา



8.ยะกิ๋นลำขนาด  =  ทำอาหารอร่อยมาก



9.เฮือนหลังไหย่ขนาดน่อ  =  บ้านหลังใหญ่มากเลยนะ



10.หยังมารวยแต๊รวยว่า  =  ทำไมถึงได้รวยขนาดนี้



11.ยะก๋านดีขนาด  =  ทำงานดีจริงๆ



12.ฮ้องเพลงม่วนแต๊  =  ร้องเพลงเพราะมาก



13.หลวกขนาด  =  ฉลาดมากๆ



14.เก่งแต๊ๆ  =  เก่งมากๆ



15. ตี๋มวยเก่งขนาด  =  ชกมวยเก่งมากๆ



16.หูโวย ต๋าโวยขนาดน่อ  =  หูไว ตาไวจังเลยนะ



17.บ่ะลำไยโหน่ยนักขนาด  =  ลำไยออกลูกเยอะมาก



18.น้ำพิกต๋าแดงลำขนาดเลย  =  น้ำพริกตาแตงอร่อยมากๆ



19.รถใหม่เซ่ง งามขนาดน่อ  =  รถใหม่เอี่ยม สวยจริงๆเลย



20.หยังมาแกว่นแต๊  =  ทำไมถึงเก่งและชำนาญจังเลย